กว่าจะเป็นคอยีนส์ตัวจริง ต้องรู้อะไรบ้าง

Blog / กว่าจะเป็นคอยีนส์ตัวจริง ต้องรู้อะไรบ้าง

หลายคนอาจจะยังไม่รู้ ถ้าหากพูดถึงกางเกงยีนส์ตัวหนึ่งเนี่ยมีกรรมวิธีการทำที่เยอะมาก ไม่ว่าจะทั้งเนื้อผ้า กระบวนการผลิต สีของยีนส์ ซึ่งยีนส์แต่ละตัวก็จะแตกต่างกันออกไป หากใครเป็นคอยีนส์ตัวจริงก็คงจะรู้จักกันดี แต่ถ้าใครที่กำลังจะเริ่มเล่นยีนส์หรือศึกษายีนส์อย่างจริงจัง ขอบอกเลยว่าห้ามพลาดกับบทความนี้ เพราะเราจะพาคุณไปอัพสกิลการเป็นคอยีนส์ตัวจริงขึ้นไปอีกขั้น

 

1. Selvedge = เซลเวจคือริมขอบของผ้ายีนส์ ขอบกันลุ่ย ซึ่งมาจากคำว่า Self-edge เป็นคำเรียกผ้าชนิดพิเศษ โดยใช้เครื่องทอแบบเก่า Shuttle Loom การผลิตแต่ละครั้งจะได้จำนวนน้อย จึงเป็นสัญลักษณ์ของยีนส์ที่คุณภาพดี พรีเมี่ยม
2. Twill = การทอผ้าแบบข้ามเส้นขวางสองเส้น หรือสลับกัน ทำให้ไม่เกิดรอยย่น การทอผ้ายีนส์ด้วยลายนี้เป็นที่นิยมที่สุดของผ้ายีนส์
3. Chain Stitches = การเย็บแบบลูกโซ่
4. Warp & Weft = ผ้าที่เกิดจากการทอ โดยมีเส้นยืน และเส้นพุ่ง ทอขัดในแนวตั้งฉากกัน
5. Slubby = ยีนส์ที่เนื้อผ้ามีผิวสัมผัสหยาบมาก ๆ โดยเส้นด้ายยืนปั่นออกมากด้วยขนาดที่ไม่เท่ากันตลอดทั้งเส้น

 

6. Inseam = รอยตะเข็บด้านข้าง ตั้งแต่เป้าจนถึงปลายขากางเกงยีนส์
7. Oz = ออนซ์ (Ounce หรือ Oz) คือ น้ำหนักของผ้ายีนส์ ซึ่งยีนส์แต่ละตัวจะมีน้ำหนักผ้าที่แตกต่างกัน เนื้อผ้า และความแข็งแรง ทนทาน ก็ต่างออกไปด้วยเช่นกัน
8. Rivets = หมุดโลหะ ดีเทลที่ทำให้กางเกงยีนส์แตกต่างจากกางเกงอื่น ๆ ตอกอยู่ที่กางเกง เพิ่มประสิทธิภาพในการรับน้ำหนักในจุดรวมตะเข็บ โดยเฉพาะบริเวณกระเป๋าหลังและตรงเป้า เพื่อให้ยีนส์มีความทนทานต่อการใช้งาน
9. Whiskering = ลายทางริ้วบนกางเกงยีนส์ ช่วยพรางจุดด้วยบริเวณสะโพก
10. Rise = ความยาวระหว่างเป้ากางเกงถึงขอบเอว เพื่อดูว่าเป็นกางเกงยีนส์เอวสูงหรือเอวต่ำ

 

11. Watch Pocket = กระเป๋าใส่นาฬิกา โดยถูกออกแบบเอาไว้เพื่อเก็บนาฬิกาโซ่โบราณ เพราะในอดีตผู้ชายนิยมพกพานาฬิกา
12. Sanforized = ยีนส์ที่ผ่านกระบวนการที่ทำให้ผ้าหดตัวแล้ว ไม่ต้องแช่ก่อนใส่
13. Unsanforized = ยีนส์ที่ยังไม่ผ่ากระบวนการทำให้หดตัว เมื่อแช่ยีนส์จะหดตัว 5-10%
14. Stonewash = การนำยีนส์ไปปั่นรวมกับหินพัมมิช (Pumice) หินลักษณะหยาบและขรุขระ จึงทำให้ได้ลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ
15. Indigo = สีที่ถูกสกัดจากต้นไม้ชนิดหนึ่ง อย่างต้นคราม จึงทำให้เรียกกันว่าสีคราม โดยสีที่ได้จะคล้าย ๆ กับสีน้ำเงิน ก็คือสีของกางเกงยีนส์นั่นเอง

 

Scroll to Top